Tuesday, March 24, 2009

Walking Meditation

"in The Thai Forest Tradition"

Table of Content

--1--

Introduction
  • The Five Benefits of Walking Meditation
  • Developing Endurance for Walking Distances
  • Good for Striving
  • Good for Health
  • Good for Digestion
  • Good for Sustaining Concentration

--2--

Preparation for Walking Meditation

  • Finding a Suitable Place
  • Preparing the Body and Mind

--3--

Basics of Walking Meditation and Choosing an Object
  • Awareness of the Walking Posture
  • From Sitting Meditation to the Walking Path
  • Choosing a Mantra
  • Contemplation of the Way Things Are
  • Investigating Impermanence
  • Recollecting Generosity and Virtue
  • Recolecting the Nature of the Body
  • Other Contemplations

--4--

Conclusion


1. Introduction

In this discourse, I want to focus on the nuts and bolts of walking meditation. I Shall address the how, when, where and why of this form of meditation. I intend this discourse to include both practical instructions of the technical aspects of walking meditation and instructions for creating the quality of mind that leads to concentration, instght and wisdom through the physical activity of walking meditation.

The Buddha stressed developing mindfulness inthe four main postures of the body : standing, sitting, lying down and walking. He exhorted us to be mindful in all these postures, to create a clear awareness and recollection of what we are doing while we are in any particular posture.

If you read about the lives of monks and nuns at the time of the Buddha, you will see that many obtained the stages of Enlightenment while on the walking meditation path. Walking meditation is call cankama in Pali. Walking meditation is an activity in which one can focus and concentrate the mind or develop investigative knowledge and wisdom.

Some people find that they are naturally drawn to walking meditation, because they find it easierand more natural than sitting meditation. When they sit they full dull, or they are easily distracted. Their mind doesn't calm down. If this is the case with you, don't just presevere; do something new and try a change of posture.

Do something different; experiment with standing meditation or try walking meditation. This new meditation posture may give you some other skilful means of applying the mind. All of the four postures of meditation are just techniques, methods for developing and training the mind.

Try and develop walking meditation; you may start to see the benefits of it. In the Forest Meditation Tradition in Northeast Thailand, there is a great emphasis on walking meditation. Many monks will walk for long hours as a way of developing concentration -- somethaing as much as ten or fifteen hours a day!

The late Ajahn Singtong used to do so much walking meditation that he would make a rut in the walking path. The sandy path that he used for walking meditation would actually become hollow because he would walk so many hours a day -- sometimes up to fifteen or more hours a days! Another monk, Ajahn Kun Dtun walked meditation so much that he wouldn't bother to go into his hut a night. When he became really tired after walking meditation all day and late into the night, he would lay down right there on the meditation path and use his fist as a pillow. He would go to sleep with mindfulnessl, having made a determination to ge up the moment he woke. As soon as he woke up, he would start walking again. He basically lived on his walking meditation path! Ajahn Kun Dtum was quick attain results in his pratice.

In the West, there is not such an emphasis on the practice of walking meditation. Thus I would like to describe the process and recommend it to you to complement your sitting practice. These instructions will hopefully help you develop your repertoire of meditative techniques -- in both formal meditation and in your daily life. As so much of life is taken up with the acitivity of walking, if you know how to apply awareness to that, then even simply walking about in you house can become meditation exercise.

/cont...

from Walking Meditation in the Thai Forest Tradition

Friday, March 20, 2009

ธนบัตรจำนวนหนึ่งในนั้น

ตื่นขึ้นด้วยอารมณ์เบิกบานแจ่มใสผิดปรกติพยายามทำให้สติดูใจตนเองว่า ทำไม่จึงเป็นเช่นนั้น ก็ได้พบเหตุว่าเนื่องมาจากเมื่อวันวาน ขึ้นรถยนต์เช่าจะไปทำธุระ เมื่อขึ้นไปนั่งได้เห็นถุงกระดาษใบหนึ่ง วางอยู่บนที่นั่งด้านหลัง สำหรับผู้โดยสาร เมื่อลองเปิดออกดู ก็ได้เห็นธนบัตรจำนวนหนึ่งในนั้น เป็นจำนวนไม่น้อย มองดูผู้ขับรถ ก็รู้ว่าเขาไม่รู้ว่าเขาไม่รู้เรื่องราวด้วย สันนิษฐานได้ว่า ต้องเป็นผู้โดยสารก่อนหน้านั้นหลงลืมไว้ ความโลภ ทำให้คิดว่าได้ลาภโดยไม่รู้ตัว เกิดความยินดี ที่จะเก็บไปเป็นของตนเสียเงียบ ๆ ความผิดก็จะไม่มี และจะไม่มีใครรู้

สติ ทำให้คิดว่าการทำเช่นนั้นไม่สมควร แม้จะมิได้เป็นการลักขโมยจริง แต่ก็ถือเป็นการเอาของของผู้อื่นโดยที่เจ้าของมิได้ยกให้และเจ้าของก็น่าจะได้รับความทุกข์ เพราะการหลงลืมครั้งนี้เป็นอันมาก สติ ความยับยั้ง ทำให้ความโลภที่เกิดขึ้นก่อนระงับดับไป เมื่อความโลภในเงินจำนวนนั้นดับ เงินจำนวนนั้นก็ไม่เป็นสิ่งที่ใจปรารถนาต้องการ ความรู้เหตุผลผิดชอบชั่วดี และความควรไม่ควรอย่างไร เกิดตามมาทันที จึงได้นำถุงเงินนั้น ไปมอบที่สถานีตำรวจ เจ้าหน้าที่เทเงินออกจากถุงต่อหน้า เพื่อนับเงินมีจำนวนพันเศษ และในนั้นมีกระดาษพิมพ์จำนวนเงินไว้ด้วย มีรายชื่อละเอียดชัดเจน จึงเป็นที่ปรากฏว่าเงินทั้งหมด เป็นเงินที่ผู้มีใจเป็นกุศลพวกหนึ่งรวมกันบริจาคคนละมากบ้างน้อยบ้าง เพื่อนำไปมอบให้สถานการกุศลแห่งหนึ่ง และผู้รับมอบหน้าที่ ให้นำเงินไปบริจาค ได้หลงลืมเสียในรถเช่า

ในตอนนี้ เกิดความรู้สึกขึ้นในใจตนเองว่า ความโลภเกือบจะทำให้ทำกรรมไม่ดีที่แรงไม่น้อย คือถือเอาของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้ให้ทั้งยังเป็นของที่เจ้าของมุ่งอุทิศเป็นการกุศลแล้ว ถ้าสติเกิดไม่ทัน ความโลภไม่ดับลงเสียก่อน ความรู้ผิดชอบชั่วดีการควรไม่ควรไม่เกิด ยินดีถือเอาเงินนั้นไปเป็นของตน ใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ตน ผลได้ก็หาเท่ากับผลเสียไม่ การทำเช่นนั้น เป็นการทำเหตุไม่ดีแน่นอน ผลจักต้องเป็นผลไม่ดีแน่นอน ตรงกันข้ามกับผลที่ได้รับ เมื่อนำเงินไปมอบให้เจ้าหน้าที่ หาเจ้าของ เพราะเป็นผลที่ให้ความเบิกบานสบายใจจริง ๆ เริ่มแต่เมื่อสติเกิด ยับยั้งความโลภไว้ได้ ทำให้ความโลภดับไป ใจก็เริ่มได้รับความเย็นแล้วทันทีแม้เมื่อมาย้อนพิจารณาในภายหลัง ก็จักเห็นได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริง ใจเริ่มมีความสงบเย็นเกิดขึ้นจริง เมื่อสติเกิด ความโลภดับไม่มีความต้องการจะถือเอาเงินนั้น เป็นของตน ครั้นตัดสินใจจะนำเงินไปมอบให้เจ้าหน้าที่ จนถึงนำไปมอบเรียบร้อย ใจมีความเบิกบานสบายเพิ่มขึ้นทุกที ยิ่งเมื่อได้รู้ชัดว่าเป็นเงินที่เจ้าของทั้งหลายอุทิศเพื่อการกุศล ใจก็ยิ่งเบิกบานสบายขึ้นอย่างยากจะบอกได้ถูกต้อง

ผู้ใดก็ตาม จะเป็นผู้ฝักใฝ่ในการทำบุญทำกุศลหรือไม่ก็ตาม ถ้าเรื่องที่ยกมา เป็นตัวอย่างข้างต้นได้เกิดกับตนเอง ใจของผู้นั้นจะเบิกบานสบาย อย่างยากจะบอกได้ถูกต้องเช่นเดียวกันและความเบิกบานสบายใจอย่างเหลือเกินนั้น จะฝังอยู่ในใจเป็นอารมณ์ค้างได้นานวัน นี้คือผลของการดับความโลภลงได้ แม้ในบางครั้งบางคราว เป็นผลที่ดีอย่างแท้จริง อย่างเห็นได้ถนัดชัดเจนประจักษ์แก่ใจตนเอง



จากหนังสือ “ ความสุขหาได้ไม่ยาก “

Thursday, March 19, 2009

อาชีพทางจิตวิญญาณ

การฟังคำพูดได้ความเข้าใจ การเจริญสติได้ความเห็นแจ้ง ถ้ามีสติเห็นกายทุกเวลา เห็นเวทนาทุกโอกาส เห็นจิตหลงคิด เห็นธรรมตามสมควรแก่ธรรม ชื่อว่าอยู่โดยชอบแล้ว

ความบกพร่องที่เลวร้าย คือ ปล่อยให้หลงคิดปรุงแต่ง อย่าไปเอาเหตุผลเป็นเรื่องให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน เราหลงโกรธให้คนอื่น มันคือความโง่ของเรา

การทำความดี ให้เริ่มจากตัวเราก่อน สังคมมันจะเลว แต่ตัวเราต้องไม่เลวร้าย เราห้ามตัวเราไม่ให้ทำความชั่วได้ แต่ห้ามคนอื่นอาจไม่ได้ อย่าหวังพึ่งผู้อื่นมากยิ่งกว่าการพึ่งตนเอง อย่าไปแสวงหาหรือปรารถนาสิ่งนอกตัวเราจนเกินพอดี การทำความดีในตน เป็นสิ่งที่อย่าได้พลาดโอกาส ถ้าไปหาความเป็นธรรมนอกตัวเราเอง ท่านจะผิดหวัง

คนที่โกรธคนอื่น จะเสียเปรียบคนที่ถูกโกรธ อย่าไปหาความดีจากคนอื่น ท่านจะเสียใจที่หวัง ให้ทำแต่ความดี แต่ที่สุดแล้วก็คือให้ปล่อยวาง

สังคมมันจะเลวร้าย แต่ตัวเราต้องไม่เลวร้าย คนทำดีก็ได้ ทำชั่วก็ได้ แต่มนุษย์ทำแต่ความดี ไม่ทำชั่ว

การเจริญสติ มีความรู้สึกตัว ถ้ารู้สึกตัวมาก ๆ ก็จะเกิดปัญญา เกิดความฉลาดรู้แจ้งในรูปนาม ล่วงพ้นภาวะเดิม หมดปัญหาในชีวิต จนพบชีวิตใหม่ แต่ถ้าไม่มีสติ ความหลงจะครอบงำ ทำให้เกิดความโง่หลงงมงายไม่รู้รูปนามตามความเป็นจริง ถูกกายถูกใจหลอกเอา เกิดเป็นภพเป็นชาติไปต่าง ๆ นานา ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารเป็นอเนกชาติ

สติธรรมคุมกำเนิดของอธรรม ความหลงทำให้เกิดกำเนิดของอธรรม การทำความดีให้กับตัวเองก็คือ การมีสติ การเจริญสติเป็นอาชีพทางจิตวิญญาณ มีวิหารธรรมเป็นที่อยู่ ถ้าขาดสติก็คือความอาภัพอับจนทางจิต

ขอให้ทดลองเจริญสติดู ท่านจะได้คำตอบเอง จะได้ไม่เสียชาติที่เกิดมา อย่าหาเวลา เวลาไม่ต้องไปหา มีอยู่แล้ว เอากายใจเป็นอุปกรณ์เพิ่มสติ เติมสติลงไปในกายในใจ

ความทุกข์ความโกรธเป็นสิ่งที่ควรเอาชนะก่อนอื่นใด คนเราสนใจแต่จะเอาชนะสิ่งอื่นนอกไปจากตน ถ้าทุกคนรู้สิ่งเดียวกัน เห็นสิ่งเดียวกัน แก้ไขสิ่งเดียวกัน จะพึ่งพาอาศัยกันได้มากกว่านี้

ความโกรธเกิดขึ้นที่ใจ แต่ใจไม่ใช่ความโกรธ ถ้ามีสติดี ความโกรธและความทุกข์เกิดกับใจได้ยาก ถ้าความโกรธเกิดขึ้นกับใจ ก็แสดงว่าใจเถื่อน


จาก หนังสือ “ ธรรมะจากสมุดบันทึก ” หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

Wednesday, March 18, 2009

เลือกคนหนึ่งที่จะต้องตาย

พูดถึงจิตตภาวนา อาตมาก็อยากจะถามเรื่องเมตตาในทางพุทธศาสนา จะขอสอบถามลูกศิษย์ สมมุติว่า มีถ้ำใหญ่และมีผู้ปฏิบัติธรรมในถ้ำนั้น มีเรา มีเพื่อนของเรา มีพี่ของเรา มีคนแก่อายุมากแล้ว มีคนสุขภาพไม่ค่อยดี ป่วยตลอดเวลาใกล้จะตาย และมีอีกคนหนึ่งเป็นศัตรูเรา ไม่เคยถูกใจเรา ขวางหูขวางตาตลอดเวลา สมมุติว่าในถ้ำนั้นเราก็อยู่ปฏิบัติธรรม ถือศีล เจริญจิตตภาวนา พยายามปฏิบัติเมตตาภาวนาสม่ำเสมอ

แล้วสมมุติว่ามีคนร้ายเข้ามา พวกโจรและหัวหน้าโจรเห็นว่า ถ้ำนี้เหมาะสม สถานที่นี้ดีมากที่จะทำเป็นซ่องโจร เขาจะไล่เราออก โดยเขาจะจัีบมา ๑ คนในกลุ่ม ๕ คนนี้ และฆ่าคนนั้น เขาบอกว่าเราต้องเป็นผู้เลือกคนที่จะตาย เราจะเลือกคนไหน

ถ้าเรากำลังบำเพ็ญเมตตาภาวนาอยู่ แล้วคนในกลุ่มนี้มี ตัวเรา มีเพื่อนรัก มีพี่เรา มีคนแก่ มีศัตรู มีคนเกือบตาย แล้วเราจะเลือกคนไหน ถ้าเราพยายามบำเพ็ญเมตตาบารมี เขาจะให้เราเลือกคนหนึ่งที่จะต้องตาย จะเลือกคนไหน

เลือกตัวเราเองมีไหม? หากใครบอกว่าตัวเองยกมือขึ้น!! เอ้า นับจำนวนหน่อย มีกี่คน?
ใครเลือกพี่? .... แหม รักพี่กันทุกคนเนอะ!!
ใครเลือกเพื่อน? ... แหม รักเพื่อนกันด้วย!!
ใครเลือกว่าศัตรู?... ใครเลือกคนแก่?... คนที่ใกล้ตาย?... อ้าว!! ใครยังไม่เลือก

นี่ก็รู้จักคำตอบนะ นี่เป็นอุบายในการอธิบายเรื่องเมตตาในพุทธศาสนา

ที่จริงนั้น ผู้มีปัญญาจะบอกว่าไม่เลือกคนใด เพราะกรรมใครกรรมมัน คุณโจรต้องเลือกเอง เราเจริญเมตตาสม่ำเสมอ เราเจริญเมตตา ถ้าหากว่าเลือกตนเอง ทางพุทธศาสนาหมายถึงว่าเราไม่รักตนเสมอกับผู้อื่น เป็นปมด้วยอยู่ทางด้านเมตตาบารมี คือเมตตาจะไม่เสียสละตัวเอง ถ้ารักตนเองก็ไม่ฆ่าตนเองหรือไม่ให้เขาฆ่าตนเอง ไม่ให้เขาฆ่าผู้อื่น ไม่ให้เขาทำกรรม

ถ้าหากเราห้ามเขาไม่ได้ ก็เป็นเรื่องของเขา แต่เราจะไม่เกี่ยวข้อง เราจะมีเมตตารักเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นอุบายที่จะให้เราเป็นว่าเมตตาที่แท้จริงทางพุทธศาสนาก็ต้องเมตตาต่อตนเอง ด้วยความหวังดีต่อตนเอง คิดในแง่ดีต่อตนเองและมีเมตตาสม่ำเสมอแก่ทุกคน เมื่อหัวหน้าโจรฟังว่าเราจะไม่เลือกให้คนใดคนหนึ่งตาย ถ้าเผื่อเขาเกิดศรัทธามาขอปฏิบัติธรรมร่วมกับเราได้นะ นี่เป็นนิทานก็เลยพูดอย่างนั้นได้ อาตมาอธิบายอย่างนี้เพือแสดงถึงการเจริญเมตตาภาวนา

... มีต่อ/

ถอดคำเทศน์จาก ของนอก ของใน

Tuesday, March 17, 2009

ไม่เผลอก็ไม่ทุกข์

การทำบุญให้ทานรักษาศีลก็ดีอยู่ แต่มันดับทุกข์ไม่ได้ สมมติให้ฟังอีกเรื่องหนึ่ง เรามีเงินปลูกบ้านหลังหนึ่งสวยงามมาก แล้วเราก็เอาน้ำมันเบนซินมาราด ใช้ไม้ขีดก้านเดียวจุดไฟทิ้งลงไป ไฟไหม้บ้านหมดทั้งหลัง ถ้าฝนตกไปนั่งตรงนั้นอยู่ตรงนั้นก็ต้องเปียก ถ้าแดดออกเราไปนั่งอยู่ก็ต้องร้อน อันนี้เปรียบได้กับความดีความงามที่เราสร้างสมมา พอโกรธขึ้นมาหนเดียว ความอิ่มอกอิ่มใจนั้นก็หมดไป แม้เราสร้างบ้านขึ้นมาใหม่ จุดไฟขึ้นมาอีก บ้านก็ถูกไฟไหม้อีก ดังนั้น แม้เราจะทำบุญให้ทานรักษาศีลสักร้อยครั้งพันหนก็ตาม โกรธขึ้นมาหนเดียวบุญกุศลก็หมดไป ฉะนั้น จึงกล่าวว่ามันดับทุกข์ไม่ได้ เมื่อมันดับทุกข์ไม่ได้ สิ่งๆนั้นก็มีค่ามีราคาน้อย ไม่คุ้มค่าคุ้มราคากับชีวิตของเรา

ถ้าเราต้องการชีวิตที่เป็นอิสระจริงๆแล้ว เราต้องกลับมารู้ตัวเองให้มาก อย่าเป็นคนลืมตัว เมื่อไม่ลืมตัว เราก็หยุดได้ หยุดความคิดที่สับสนวุ่นวาย หยุดได้เพราะเราเห็น-เรารู้-เราเข้าใจ ดังนั้น คนใดที่หยุดความคิดที่สับสนวุ่นวายที่เป็นทุกข์ได้ คนนั้นก็เป็นอิสระ เป็นอิสระจากโลภะ โทสะ โมหะ สิ่งเหล่านี้แหละที่ พระโสดาบัน ละได้ เป็นอิสระออกมาได้ เป็นการหลุดพ้นขั้นต้นที่สุด ดังนั้น แม้จะรักษาศีลกินเจ ให้ทาน ภาวนาพุทโธ หรือทำอะไรอยู่ก็ตาม ถ้าหากยังละไปจากสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ก็ชื่อว่าเป็นไม้ผุ ไม้ไม่มีแก่นไม่มีแกน

การเป็นพระอริยบุคคล ไม่ได้มีเครื่องหมายเหมือนกำนันผู้ใหญ่บ้านหรือตำรวจทหาร เครื่องแบบของพระอริยบุคคลเหล่านี้ ก็คือ กายวาจาใจที่ไม่สับสนวุ่นวายแล้ว ไม่มีทุกข์แล้ว เพราะไม่ลืมตัว ที่เราเป็นทุกข์กันเพราะเราลืมตัว มันคิดขึ้นมาเราไม่รู้เราไม่เห็นเราไม่เข้าใจ ความไม่รู้-ไม่เห็น-ไม่เข้าใจนั่นแหละ คือ ความทุกข์

พระพุทธเจ้าจึงสอนให้มาเจริญสติ ให้มีสติเข้าไปรู้ในอิริยาบถทั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ให้มีสติเข้าไปรู้อยู่ตลอดเวลา เท่านั้นยังไม่พอ ยังสอนให้มีสติเข้าไปรู้ในอิริยาบถย่อย คู้ เหยียด เคลื่อนไหว กะพริบตา อ้าปาก หายใจ เมื่อรู้แล้ว ญาณปัญญาจะเกิดขึ้น

ญาณ หมายถึง รู้ ปัญญา หมายถึง รอบรู้ แต่ก่อนเราไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นไม่เคยเข้าใจ เปรียบเหมือนกับความมืด เดี๋ยวนี้เราเห็นเราเข้าใจ ก็เหมือนกับแสงสว่างที่มันเข้ามาแทนที่ความมืด เราไม่ต้องไปไล่ความมืด เพียงเราจุดไฟความมืดก็หายไป อันความโกรธ ความโลภ ความหลงนี้ก็เหมือนกัน เพียงมีสติเข้าไปรู้จิตใจของเรา ความโกรธ ความโลภ ความหลงมันก็ไม่มี มันเกิดขึ้นได้เฉพาะตอนที่เราเผลอเท่านั้น

สมมติว่ามีกองขี้ไก่อยู่กลางบ้านเรา เราไปเหยียบมัน มันติดเท้าเรามา มันเหม็นเราก็ไปล้างออก แล้วเราเดินไปเหยียบอีก ติดเท้าอีก ต้องไปล้างอีก ทำไมในเมื่อเราก็รู้ว่ามันเหม็นแล้วยังไปเหยียบอีก นั่นเพราะเราเผลอ เราไม่เห็น-เราไม่รู้จัก-เราไม่เข้าใจ ถ้าเราไม่ลืมตัว เรารู้-เราเห็น-เราเข้าใจ เราก็จะไม่ไปเหยียบ ไม่ไปทำให้มันเป็นทุกข์ขึ้นมาแน่ๆ

ดังนั้น สิ่งแรกที่เราจะต้องแสวงหา คือ ความหลุดพ้นของพระโสดาบัน หมายถึงหลุดพ้นไปจากโทสะ โมหะ โลภะ หลุดพ้นไปจากสามสิ่งนี้ให้ได้เสียก่อน ถ้ายังทำลายสิ่งเหล่านี้ไม่ได้แล้ว ก็ยังไม่มีความมั่นคง ยังเป็นที่พึ่งให้ตนเองไม่ได้


จาก หนังสือ “เปิดประตูสัจธรรม” หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

Friday, March 13, 2009

อย่าไปทางลัด-ระัวังถนนลื่น

อาตมาไปตรวจงานตอนบ่าย พอเกือบจะ ๕ โมงเย็น ก็คิดว่าจะกลับศาลา เราก็อยู่นอกกำแพงวัด ถ้าจะเดินรอบวัด กำแพงมันยาว ๓.๓ กิโลเมตร มันก็ไกล เราก็คิดว่าไปทางลัดดีกว่า โดยจะกระโดดกำแพงข้ามไป พระกระโดดกำแพงโยมคงเคยจะได้ยิน โยมหลายคนบอกว่าเป็นอาหารที่ดีมีราคาสูง อาตมาก็ยังพูดกับพระอยู่ว่า มันก็ยังดีที่เรากระโดดกำแพงเข้่าไปในวัด แต่ส่วนมากพวกโยมเวลาอยู่วัดจะกระโดดกำแพงออกมานอกวัด

อาตมาคิดว่ากำแพงมันสูงแค่ ๒ เมตร กระโดดกำแพงไปทางลัด ก็คิดว่ามันจะเร็วดี แต่เราไม่เห็นว่าในหญ้าคานั้นมีหินกำลังรอรับเราอยู่ กรรมก็อยู่ที่นั่น เราคิดว่ามันจะเร็วดี พอกระโดดกำแพงแล้วเหยียบก้อนหิน ข้อเท้าหัก นี่ก็ ๒ ปีแล้ว ยังไม่หายดี ก็เลยรู้เรื่อง การไปทางลัด มันไม่ใช่ทางเร็ว ถ้าเราได้เดินรอบถึงประตูวัดก็คงไม่ใช้เวลาเจ็บอยู่ ๒ ปี คงจะเร็วกว่านี้ เราก็ต้องรู้อยู่ว่าทางลัดไม่ใช่ทางที่เร็ว แต่ทางตรงเป็นทางที่เร็วที่สุด พระพุทธเจ้าบอกว่าทางตรง ความถูกต้อง เร็วที่สุด

มีโยมคนหนึ่งเป็นชาวรัสเซียเขามาแวะเยี่ยมลูกชายที่วัด พระลูกชายก็พาแม่ไปวัดหนองป่าพงไปกราบเจดีย์หลวงพ่อชา เวลาแม่เดินในวัดหนองป่าพง เขาเห็นธรรมบทที่หลวงพ่อชาเคยให้ไปติดตามต้นไม้ แม่ก็ถามพระลูกชายอันนี้แปลว่าอะไร เพราะเขาอ่านภาษาไทยไม่ได้ พระลูกชายก็อ่านภาษาไทยแล้วแปลเป็นภาษารัสเซีย

แม่ไม่ใช่พุทธ แต่เขาก็ฟังธรรมะของหลวงพ่อชา เขาชอบใจ เขาก็เลยเขียนเป็นโน๊ตไว้ เขียนในสมุด ธรรมะของหลวงพ่อชา เขาเดินไปที่ไหนก็จะขอให้แปลทั้งหมดที่เขียนไว้ เช่น หลวงพ่อชาเขียนไว้ว่า

"ถ้าหากเราปล่อยวางเล็กน้อย เราก็มีความสุขเล็กน้อย
ถ้าเราปล่อยวางมาก เราก็มีความสุขมาก
ถ้าเราปล่อยวางเลย เราจะมีความสุขเลย"

เขาก็เขียนเป็นภาษารัสเซียไว้ ตอนกำลังจะออกจากวัดหนองป่าพง มีป้ายอยู่ข้างถนนเพราะเป็นฤดูฝน ป้ายนั้นเขียนไว้ว่า "ระวังถนนลื่น" เพราะในฤดูฝน ถนนปูนมันเกิดตะไคร่น้ำ คนเดินมา มันก็ลื่น ครูบาอาจารย์เขียนเตือนสติคนว่าระวังถนนลื่น แม่ของพระเห็นเป็นป้าย จึงถามว่าอันนี้แปลว่าอะไร? พระลูกชายก็หัวเราะใหญ่ บอกว่าแปลเป็นภาษารัสเซียว่า ระวังถนนลื่น แม่ก็เลยเขียนไว้ในสมุด พระลูกชายก็หัวเราะอีก แต่แม่ไปชี้หน้าพระลูกชายแล้วบอกว่า นี่แหละธรรมะนะ

เวลาเราเดินออกจากวัด ต้องระวังถนนลื่น เวลาเราอยู่ในวันมันตั้งสติได้ง่าย มีศีลธรรมง่าย มีความสำรวมง่าย แต่เวลาออกจากวัดไปสู่โลกมันลื่นง่าย ล้มง่าย ศีลธรรมล้มได้ ลื่นได้ สติลื่นได้ พระลูกชายก็ยอมรับ แม่เทศน์กัณฑ์ใหญ่ให้ฟังเนาะ พระลูกชายก็เลยมาเล่าให้อาตมาฟัง โยมแม่ก็มีปัญญามากกว่าท่าน

วันนี้ ก่อนจะหยุดการแสดงธรรม... จะขอเตือนพวกเราว่าเวลาเราออกจากการปฏิบัติในวันนี้ ระวังถนนลื่น บันไดมันลื่นนะ แล้วอย่าไปทางลัด เอาสติปัญญาไปกับเรา เพราะมันลื่นง่าย ล้มง่าย ต้องมีความระมัดระวังในตัวเราเอง


ถอดคำเทศน์จากสติทัน ปัญญาทวี

จะเอาหมาไปทิ้งแม่น้ำมูล

มีเรื่องจริงอยู่ว่า มีฝรั่งคนหนึ่งมาที่นี่ สมัยก่อนตอนที่มีทหารมาอยู่ที่อุบลฯ คนนี้เขาก็มาอยู่อุบลฯ หลายปี แต่งงานกับคนอีสาน เขาสามารถพูดภาษาไทย ภาษาอีสานได้ วันหนึ่งเขาขึ้นสามล้อ และให้สามล้อขี่พาไปที่ค่ายทหาร ฝรั่งคนนี้เป็นคนอ้วนใหญ่ รูปร่างใหญ่ เขาก็นั่งข้างหลังสามล้อม สามล้อก็ถีบไป ทั้งร้อนทั้งหนัก เขาก็เ้หนื่อย เลยบ่น

ทีนี้ฝรั่งต่างชาติที่นั่งข้างหลัง เขาฟังรู้เรื่องแต่เขาไม่พูด เป็นคนนิสัยไม่ค่อยพูดเขาก็ฟังคนถีบสามล้อบ่น พอเมื่อรถผ่านหมู่เพื่อนที่จอดสามล้อไว้ซึ่งกำลังนั่งเล่นไพ่กัน เพื่อนเห็นกำลังถีบสามล้อมีชาวต่างชาติตัวหนักๆ นั่งอยู่ข้างหลัง เลยถามว่า

"อ้าว จะไปไส?"

คนถีบสามล้อรู้สึกเหนื่อย เพลีย แล้วก็ร้อน จึงบอกว่า

"จะเอาหมาไปทิ้งแม่น้ำมูล"

ก็ไปว่าเขาอย่างนั้น แล้วก็ถีบผ่านเพื่อนไป พอถึงค่ายทหารคนถีบสามล้อก็จอดรถ ส่วนฝรั่งพอเดินลงจากสามล้อก็เดินหนีไม่จ่ายเงิน คนขับสามล้อก็วิ่งตามไป บอกฝรั่งว่า

"คุณต้องจ่ายเงิน ๑๐๐ บาท"

ฝรั่งเขาตอบว่า

"หมามันไม่มีเงิน"

จบเลย!!! พูดไม่ออกเลย ตาย!!! ไม่ได้เงิน ถีบพาเขามาหนักๆ เหนื่อยจะตายแล้วก็ไม่ได้เงินเพราะไปด่าเขา เขาก็พูดจริง หมาไม่มีเงิน ถ้าเปรียบเป็นหมา หมาก็ไม่มีเงินจริงๆ ที่นี้ถ้าจะไปขอเงินจากเขาแสดงว่าเขาไม่ได้เป็นหมา ก็เลยเสียที เลยไม่ได้เงิน

เราก็จะเห็นว่าการด่าว่าคนอื่นเป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ตัวเราเองก็ไม่ชอบ ถ้าเขาว่าเราด้วยคำหยาบ ใช้คำที่ทำลายความรู้สึกของเรา ดูถูกเรา ดูหมิ่นเรา เราต้องคิดว่าใจเขากับใจเรามันก็อันเดียวกัน ใจเราไม่ชอบอย่างนั้นเขาก็คงไม่ชอบเหมือนกัน เราจึงต้องฝึกจิต ฝึกวาจาของเราให้รู้จักเบรกไว้เพราะการพูดจานั้นจะเกิดจากความคิดก่อน เราคิดไม่ดีกับเขา ดูหมิ่นเขา เราก็จะแสดงออกด้วยกายและวาจา มันเป็นการกระทบกระแทก เป็นการใช้วาจาของเราเป็นอาวุธเพื่อทำร้ายให้เขาเจ็บปวด ทรมานทั้งจิตทั้งใจ

ทุกคนต่างเคยรับวาจาที่ไม่ดีไม่งามทั้งนั้น เพราะเราหนีไม่พ้นในโลกนี้ แต่เมื่อเรารับแล้ว เรารู้ว่าการพูดอย่างนั้นทำให้ไม่สบายใจเป็นทุกข์ ถ้าเรามีเมตตาธรรมเราำไม่อยากให้ผู้อื่นเป็นทุกข์เราก็ไม่ไปว่าคนอื่น ไม่ไปด่าคนอื่น เพราะเรามีวาจาที่ประัเสริฐ เรามาวันนี้เพื่อมาฝึกวาจาที่ประเสริฐนั้น

ถอดคำเทศน์จาก ปิยวาจา